Anti-Aging คืออะไร

แอนตี้เอจจิ้ง คือการชะลอความแก่ที่หมายถึงคงความเป็นหนุ่มสาวโดยมักมุ่งความสนใจไปที่ใบหน้าที่ดูสวยใสเหมือนวัยเด็ก

คำว่าแอนตี้เอจจิ้ง Anti-Aging คงเป็นคำที่คุณคุ้นหูกันบ่อยๆ ในปัจจุบันและโดยส่วนใหญ่คนมักเข้าใจว่า แอนตี้เอจจิ้ง คือการชะลอความแก่ที่หมายถึงคงความเป็นหนุ่มสาวโดยมักมุ่งความสนใจไปที่ใบหน้าที่ดูสวยใสเหมือนวัยเด็กแต่ความเป็นจริงแล้วในทางการแพทย์ คำว่า แอนตี้ เอจจิ้ง (Anti-Aging) นั้นมีความหมายของการชะลออายุ หรือชะลอความแก่ คือความต้องการให้คนสามารถมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้นมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีการเสื่อมสภาพของร่างกายที่ช้าลง กว่า การเสื่อมสภาพตามปกติทั่วไปที่เกิดขึ้นหากเราปล่อยไปตามธรรมชาติรวมไปจนถึงมีอัตราลดลง ของความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ ในวัยที่มากขึ้นตลอดจนการมีสภาวะของจิตใจที่ดีอีกด้วย

ดังนั้น Anti-Aging จึงครอบคลุมถึงการดูแลระบบการทำงานของร่างกาย ให้คงประสิทธิภาพที่ดีและเสื่อมถอยช้าลงนั่นเอง

ความชราของผิว กับ การชะลอวัย

ในยุคปัจจุบันคนส่วนใหญ่มักจะคิดว่า Anti-Aging คือเรื่องของการชะลอวัย ทำให้ดูสาวดูสวยดูหนุ่มขึ้น นอกจากนี้ก็มีเครื่องมือและอุปกรณ์ใหม่ๆ ที่อ้างว่าสามารถทำ Quick Fix ได้ผลทันตา ซึ่งดูภายนอกจะเห็นตามนั้นจริงแต่ภายใน ก็ไม่ได้ถูก Fix ไปด้วย การชะลอวัยไม่ได้มาจากภายนอกอย่างเดียวระบบภายในร่างกายก็สำคัญด้วยความจริงในศาสตร์การแพทย์แล้ว Anti-Aging เป็นเรื่องของการปรับปรุงคุณภาพชีวิต (Lifestyle modification) ซึ่งคือการกับชีวิตให้มีความสุขและมีสุขภาพที่ดีทั้งภายนอกและภายในคำว่า Anti-Aging จึงหมายถึงการมีชีวิตที่ยืนยาวและเจริญรุ่งเรืองหรือมีคุณภาพชีวิตที่ดีนั้นเอง 

ความชราเป็นกระบวนการที่ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องและเกิดจากหลายปัจจัย ในบทความนี้ เราจะโฟกัสกันที่ความชราของผิวหนัง ซึ่ง ผิวหนัง นี้เกิดขึ้นได้จาก 2 ปัจจัยดังต่อไปนี้ความชราที่เกิดจากปัจจัยภายในมักเกิดขึ้นตามธรรมชาติและตามกาลเวลาโดยอายุที่เพิ่มขึ้นนั่นเองอาจกล่าวได้ว่าเป็นนาฬิกาชีวิตซึ่งมีผลดังนี้

ระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลง 

โดยเฉพาะฮอร์โมนเพศสเตียรอยด์ ที่ลดลงเช่นเอสโตรเจน เทสโทสเตอโรน เป็นต้น นอกจากนี้ฮอร์โมนเมลาโทนิน อินซูลิน คอร์ติซอล ก็ลดลงด้วยเช่นกัน ซึ่งการลดลงของเป็นผลต่อการส่งสัญญาณแบบต่างๆในร่างกายและการควบคุมการทำงาน ของฟังก์ชันต่างๆในร่างกายก็จะช้าลง และมีการตอบสนองที่ช้าลงไปด้วย 

อนุมูลอิสระ

ทำให้เกิดความชราโดยอนุมูลอิสระคืออิเล็กตรอนที่ไม่ครบคู่จึงพยายามวิ่งไปจับกับโมเลกุลของร่างกายทำให้เกิดผลเสียตามมาคือเซลล์เสื่อมสภาพเร็วผิดปกติและจะเสื่อมตามกันไปเป็นโดมิโน่ ทำให้เกิดความเสื่อมของเซลล์โดยภาพรวมและเกิดโรคจากการเสื่อมตามมาอนุมูนอิสระนั้นเป็นของเสียที่เกิดจากการเผาผลาญเพื่อให้ได้พลังงานกับร่างกายการทำลายโครงสร้างภายในของผิวจากการสะสมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของอนุพันธุ์ ออกซิเจนที่ว่องไว ซึ่งเกิดจาก กระบวนการเผาผลาญระดับเซลล์ในร่างกายยังมีผลไปทำลาย เยื่อหุ้มเซลล์ เอนไซม์ และดีเอ็นเอ อีกด้วย 

ทั้งสองปัจจัยที่กล่าวมามีผลโดยตรงต่อโครงสร้างผิว

ฮอร์โมนมีผลต่อการควบคุมกล้ามเนื้อบนใบหน้าซึ่งมีผลต่อการแสดงอารมณ์ชั้นไขมันใต้ผิวหนังลดลงทำให้โครงสร้างผิวเปลี่ยนแปลงไปการผัดเซลล์ผิวก็ช้าลงทำให้เกิดรอยด่างของผิวการสร้างคอลลาเจนอีลาสติน และกรดไฮยาลูโรนิค ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของผิวก็ลดลงด้วยนอกจากนี้สารเหล่านี้ยังถูกทำลายโดยอนุมูนอิสระอีกด้วยทำให้มีริ้วรอยร่องลึกและรอยพับย่นเกิดขึ้น

เทโลเมียร์ (Telomeres) นิวคลีโอไทด์ (nucleotide) 

สายสั้นๆบนปลายโครโมโซมของมนุษย์ ช่วยปกป้องปลายของโครโมโซมเอาไว้จากความไม่เสถียรต่างๆพบว่าเทโรเมียร์นั้นสั้นลงทุกครั้งหลังมีการแบ่งเซลล์เมื่อเทโรเมียสั้นลงมากๆจะสั่งให้มีการซ่อมแซมขึ้นซึ่งมีผลทำให้เซลล์ตายไปได้และการแบ่งเซลล์หยุดลง ดังนั้น เทโรเมียร์จึงมีผลต่ออายุของเซลล์            

ไกลเคชั่น (Glycation)

กระบวนการของร่างกายที่น้ำตาลเช่น กลูโคสรวมกับโปรตีนแล้วได้ผล AGES (Advanced Glycation End-Products) ซึ่งมีผลต่อการทำลายโครงสร้างโมเลกุลของคอลลาเจนและอีลาสติน

ความชราที่เกิดจากปัจจัยภายนอก มักเกิดจากสภาพแวดล้อมทางกายภาพ และทางเคมี มลภาวะ เช่น ควันบุหรี่ ไอเสียรถยนตร์ ไอเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมให้เกิดอนุมูลอิสระทั้งนั้น

สารเคมีต่างๆ ไม่ว่าจะได้รับ จากการสัมผัสหรือรับประทาน ก็มีผลต่อการสร้างอนุมูลอิสระเช่นกัน แอลกอฮอล์ การขาดสารอาหาร การรับประทาอาหารมากเกินไป ก็มีผลต่อความชราด้วย 

ปัจจัยที่สำคัญที่สุดคือแสงแดด หรือรังสี ยูวี (UV Radaition)ซึ่งมีผลในการสร้างอนุมูลอิสระ โดยรังสี UVB จะทำลายพื้นผิว ส่วนรังสี UVA นั้นมีอำนาจทะลุทะลวงสูงทำลายโครงสร้างผิวภายใน และ DNA 

Sukinanda
Sukinanda

อยากจะเป็นแม่ค้าออนไลน์กับเขาบ้าง ไม่ต้องอุดหนุน กดไลค์ กดแชร์ให้ก็พอค่ะ หากสนใจสินค้าทักแชทในไลน์มีส่วนลดพิเศษให้นะ

Articles: 130

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *