อารมณ์ดีขึ้นได้ด้วยอาหาร

คุณจะเชื่อรึเปล่าถ้าเราบอกว่าแค่เปลี่ยนพฤติกรรมการทานอาหารนิดหน่อย ชีวิตคุณก็มีความสุขมากขึ้นได้? นั่นแน่ะ สนใจใช่ไหมล่ะ?

คุณจะเชื่อรึเปล่าถ้าเราบอกว่าแค่เปลี่ยนพฤติกรรมการทานอาหารนิดหน่อย ชีวิตคุณก็มีความสุขมากขึ้นได้? นั่นแน่ะ สนใจใช่ไหมล่ะ? วันนี้เราได้รับเกียรติจากผู้เชี่ยวชาญด้านสูตรและส่วนผสมของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารออริเฟลม ดร.แองเค กินส์เบิร์ก มาให้ความรู้ว่าเรื่องอาหารการกินช่วยให้อารมณ์ดีขึ้นอย่างไร

ทำไมอาหารจึงสามารถปรับอารมณ์ของเราได้ และอาหารที่เราเลือกรับประทานเกี่ยวข้องกับสภาะอารมณ์ของเราอย่างไร?

อาหารนั้นถือได้ว่าเป็นเครื่องมืออันทรงพลังที่ส่งผลต่อความรู้สึกของคนเรา ถ้าเราไม่ได้รับสารอาหารที่ร่างกายต้องการอย่างครบถ้วนและเพียงพอ เราจะรู้สึกถึงผลกระทบด้านอารมณ์ได้อย่างแน่นอน การรับประทานอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูงอาจทำให้เรารู้สึกมีพลังงานทำกิจกรรมต่างๆ แต่ต่อมาจะพบว่าระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ รู้สึกหมดแรง และเฉื่อยชา ส่วนการขาดวิตามินในกลุ่มวิตามินบีก็ส่งผลทำให้อารมณ์แปรปรวนได้ง่ายๆ 

สารสื่อประสาทชนิดที่มีความสัมพันธ์กับความรู้สึกมีความสุข ก็คือ สารซีโรโทนิน ซึ่งร่างกายจะหลั่งสารนี้ออกมาหลังจากเราได้รับประทานอาหารในแต่ละมื้อ และยังเป็นสารสื่อประสาทที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกอินเลิฟ เวลาที่กำลังตกอยู่ในความรักอีกด้วย ผลไม้ที่ช่วยเพิ่มสารซีโรโทนินได้แก่ กล้วย กีวี และสัปปะรด

อะไรบ้างที่จัดว่าเป็นไขมันดี (และไขมันเลว) และไขมันที่ว่ามีบทบาทสำคัญต่อสภาวะทางอารมณ์ของเราอย่างไร?

ไขมันชนิดดี ได้แก่ไขมันที่ช่วยให้ระบบการทำงานของร่างกายเป็นไปได้อย่างสมบูรณ์ ไขมันเป้นสิ่งจำเป็นในการทำงานของเซลล์ทุกเซลล์ในร่างกายคนเรา คำว่าไขมันดี หมายถึง กรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (หรือพวกโอเมก้า 3 หรือ โอเมก้า 6 นั่นเอง) ซึ่งพบมากในวอลนัท เมล็ดแฟลกซีดส์ เมล็ดเชีย หรือไขมันจากปลา

ส่วนไขมันชนิดเลวหรือไขในอิ่มตัว มักพบในอาหารที่ผ่านกรรมวิธี และไม่ใช่ไขมันที่พบได้ตามธรรมชาติ ไขมันชนิดนี้มีแนวโน้มสะสมอยู่ตามระบบหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งอาจก่อให้เกิดการอุดตัวเส้นเลือด จนนำไปสู่ภาวะหัวใจวายหรือสมองขาดเลือดได้ และยังทำร้ายเยื่อหุ้มเซลล์ จนส่งผลเสียต่อระบบประสาท ดังนั้นจำไว้ว่า ทุกครั้งที่หยิบโดนัทมาทานสักชิ้น เจ้าไขมันเลวไม่เพียงไปสะสมอยู่ตามหน้าท้องหรือต้นขา แต่ยังก่อความเสียหายไปถึงระบบประสาทและสมองอีกด้วย!

“จำไว้ว่า ทุกครั้งที่หยิบโดนัทมาทานสักชิ้น เจ้าไขมันเลวไม่เพียงไปสะสมอยู่ตามหน้าท้องหรือต้นขา แต่ยังก่อความเสียหายได้ถึงระบบประสาทและสมองอีกด้วย!”

พูดถึงการรับประทานอาหารที่มีผลต่ออารมณ์ ทำไมเราถึงรู้สึกอยากทานของมันๆ หรือหวานๆ เวลาที่เรารู้สึกแย่ ทำไมเราไม่รู้สึกอยากทานของที่มีประโยชน์อย่างพวกผักบ้าง?

จริงๆ แล้วการรับประทานอาหารเนี่ยแหละ ทำให้เรามีความสุขได้ เพราะสมองของเราจะหลั่งสารโดพามีนออกมาเมื่อเรารับประทานอาหารที่มีลักษณะจำเพาะ ซึ่งโดพามีนนี้เป็นสารที่ทำให้เรามีความสุข ส่วนสาเหตุที่เรามักจะอยากทานของหวานๆ มันๆ นั้น จะว่าไปก็ถือได้ว่าเป็นกลไกเพื่อความอยู่รอดของวิวัฒนาการเผ่าพันธุ์มนุษย์เมื่อต้องเผชิญกับภาวะขาดแคลนอาหาร กลไกสมองที่ว่านี้ช่วยให้มนุษย์เลือกอาหารที่มีแคลอรีสูงๆ เมื่อรับประทานเข้าไปก็จะรู้สึกอารมณ์ดี ดังนั้นเมื่อรู้สึกหิวโหย หรืออยากอาหาร ร่างกายมนุษย์จึงเลือกอาหารที่ให้พลังงานสูงๆ แทนที่จะเลือกผักที่ให้พลังงานต่ำ 

แต่ปัญหากลับมาอยู่ที่ว่า อาหารที่อุดมด้วยเกลือ น้ำตาล และไขมันเหล่านี้ กลับกลายมาเป็นปัจจัยที่ทำร้ายสุขภาพเราเสียเอง

คำว่า “โมโหหิว” ซึ่งอาการหงุดหงิด อารมณ์เสีย เนื่องจากรู้สึกหิวนั้น – เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้จริงใช่หรือไม่? เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น?

ความรู้สึกหิว เป็นความรู้สึกพื้นฐานของมนุษย์ที่บ่งบอกว่าร่างกายต้องการอาหาร แต่ถ้ามองกันในทางวิทยาศาสตร์ คำว่า “โมโหหิว” นั้นไม่ใช่กระบวนการที่มาจากความสัมพันธ์ระหว่างสารอาหารกับอารมณ์ 

แต่เป็นเพราะมนุษย์เรานั้น มีนิสัยที่ชอบสร้างรูปแบบ สร้างแนวทางไว้อย่างเป็นระบบว่าต้องทานอาหารเมื่อไร อย่างไร จนรู้สึกคุ้นชินกับความรู้สึกอิ่มเมื่อถึงเวลาหนึ่งๆ ของวันที่กำนดไว้สำหรับมื้ออาหาร เมื่อไม่ได้ทานอาหารตามความคุ้นชินของตนเอง ก็จะเกิดความรู้สึกไม่มั่นคง เสียสมดุลย์ จนทำให้ “โมโหหิว” นั่นเอง

ทำไมเวลาเราทานอาหารที่ผ่านกรรมวิธีแปรรูปแล้ว เราถึงรู้สึกเหนื่อยล้าและเฉื่อยชา?

เพราะอาหารเหล่านี้ส่วนมากจะมีแคลอรีสูงในรูปของน้ำตาลและไขมันอิ่มตัว น้ำตาลที่ใช้มักจะเป็นน้ำตาลที่ผ่านกระบวนการขัดให้บริสุทธิ์และเป็นน้ำตาลที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูง อาหารเหล่านี้มักจะทำให้เราตื่นตัว มีพลังงาน แต่ก็เป็นเพียงช่วงเวลาสั้นๆ หลังจากนั้นร่างกายจะเริ่มรู้สึกหมดแรงและระดับน้ำตาลในเลือดต่ำลง ทำให้รู้สึกเฉื่อยชา 

ถ้าเช่นนั้นเราจะมีวิธีเลือกของว่างอย่างไรให้ทานแล้วดีต่อสุขภาพและช่วยให้เรารู้สึกมีความสุขไปพร้อมๆ กัน?

คำตอบคงจะต้องเป็น กล้วย ที่ถือได้ว่าเป็นผลไม้ที่ทานแล้วอารมณ์ดีมีความสุข กล้วยนั้นอุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน โปรตีน รวมทั้งแร่ธาตุและวิตามินหลากชนิด

อาหารที่ทานแล้ว “อารมณ์ดีมีความสุข” นั้นมีลักษณะอย่างไร?

มีคุณค่าทางโภชนาการสมดุล ไม่ว่าจะเป็น โปรตีน คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน ไขมันชนิดดี รวมทั้งวิตามินและแร่ธาตุ ควรเป็นอาหารที่ผ่านกรรมวิธีการปรุงหรือแปรรูปให้น้อยที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกผักและผลไม้ออร์แกนิก ที่นับได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญของการรับประทานอาหารที่ดีและทำให้เราอารมณ์ดี มีความสุข

Sukinanda
Sukinanda

อยากจะเป็นแม่ค้าออนไลน์กับเขาบ้าง ไม่ต้องอุดหนุน กดไลค์ กดแชร์ให้ก็พอค่ะ หากสนใจสินค้าทักแชทในไลน์มีส่วนลดพิเศษให้นะ

Articles: 128

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *