น้ำมันปลาดูแลหัวใจและหลอดเลือด

น้ำมันปลา เป็นที่ยอมรับและมักได้รับคำแนะนำ จากแพทย์ให้รับประทานอาหารเสริมในผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด

เป็นที่ทราบกันดีว่าหนึ่งในสาเหตุของการเจ็บป่วยและการเสียชีวิตที่ส่วนใหญ่นั้น เกิดจากภาวะหลอดเลือดอุดตันและมักเป็นกับหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงอวัยวะสำคัญ ได้แก่ หัวใจและสมอง ซึ่งการอุดตันของ หลอดเลือดจะเป็นไปอย่างช้าๆ ใช้เวลาหลาย 10 ปี เริ่มจากการมีไขมันมาสะสมอยู่ตามผนังหลอดเลือดเมื่อเวลาผ่านไปปริมาณไขมันก็จะสะสมเพิ่มขึ้น จนเป็นสาเหตุให้หลอดเลือดตีบลง โดยผู้ป่วยจะยังไม่สามารถสังเกตอาการผิดปกติใดๆในช่วงเริ่มต้น จนกว่าหลอดเลือดจะติดมากเข้าขั้นรุนแรงและยากแก่การรักษา แนวทางการป้องกันจึงเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก

หลอดเลือดอุดตันเกิดจากสาเหตุต่างๆ อาทิ ความผิดปกติของไขมัน ความดันโลหิตสูง การสูบบุหรี่ ความเครียด โรคอ้วน และเบาหวาน เป็นต้น โดยส่วนมากเกิดจากการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกต้อง ดังนั้นความรู้เกี่ยวกับไขมันจึงมีความสำคัญต่อการเข้าใจ วิธีการป้องกัน หรือลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดหลอดเลือดแดงตีบตันลงได้

กระบวนการเกิดหลอดเลือดหัวใจอุดตัน

ภาวะที่ร่างกายมีไขมันในเลือดสูง โดยเฉพาะมีแอลดีแอลสูงและเอสดีแอลต่ำ ร่วมกับการที่ร่างกายมีสารต้านอนุมูลอิสระต่ำ จะทำให้เกิดการสะสมของแอลดีแอลบนผนังหลอดเลือดปริมาณมาก และเกิดภาวะหลอดเลือดตีบและหลอดเลือดแดงแข็งตัว  จึงทำให้เกิดภาวะเสี่ยงต่อการเกิดหลอด เลือดอุดตัน เพราะโดยปกติผนังหลอดเลือดเราสามารถมีบาดแผลและทำให้เกิดลิ่มเลือด มาปิดบาดแผลไว้ เมื่อลิ่มเลือดหลุดลอยมาตามกระแสเลือดและไปอุดตันในตำแหน่งที่มีการตีบตัวของหลอดเลือดก็จะเกิดเป็นภาวะหลอดเลือดอุดตันเฉียบพลันในที่สุด

น้ำมันปลา คือ น้ำมันที่สกัดจากส่วนของ เนื้อปลา หัว หนังและหางของปลา แหล่งน้ำมันปลาในธรรมชาติที่ดีที่สุดคือ ปลาทะเลน้ำลึกโดยเฉพาะทะเลแถบนอร์เวย์ ที่ได้ชื่อว่ามีความบริสุทธิ์สูงสุดสำหรับปลาที่นำมาสกัดน้ำมันปลาก็มีหลายชนิด เช่น ปลาคอด ปลาแซลมอน ปลาแอนโชวี่ ปลาแมคเคอเรล เป็นต้น

ในปัจจุบันปริมาณความต้องการบริโภคปลาแซลมอนในรูปของอาหารเพิ่มสูงจนทำให้ปลาแซลมอนตามธรรมชาติไม่เพียงพอ กับความต้องการและถูกทดแทนด้วยปลาแซลมอนเลี้ยง ในขณะที่ปลาตัวเล็กเช่นปากคอดหรือปลาแอนโชวี่ยังมีอยู่ยามอุดมสมบูรณ์ในธรรมชาติ และเป็นส่วนฐานของห่วงโซ่อาหารที่กินแพลงต้อนทะเล มีช่วงชีวิตที่สั้นจึงมีความสะอาดและปลอดจากการสะสมของสารพิษตกค้าง ที่มากับสภาพแวดล้อมต่างๆ 

น้ำมันปลาจากปลาเล็กที่มีอยู่อย่างมาก ในธรรมชาติ จึงเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย ในน้ำมันปลามีกรดไขมันหลายชนิด แต่ที่สำคัญและมีการนำมาใช้ทางการแพทย์คือ กรดไขมันกลุ่มโอเมก้า 3 และโอเมก้า 6

แนวทางการป้องกันและดูแลเกี่ยวกับโรคหัวใจที่สำคัญคือ

การลดอัตราเสี่ยงต่อการสะสมไขมันบนผนังหลอดเลือด เช่นหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมัน หรือคอลเลคเตอร์รอลสูง หรือลดการรับประทานอาหารหวานมากเกินไป หากน้ำหนักตัวมากเกินไป ก็ต้องควบคุมหรือลดความอ้วนลง รวมถึงการรับประทานอาหารที่มีผลต่อการช่วยลดระดับไขมันในเลือด เช่น น้ำมันปลา  ซึ่งเป็นที่ยอมรับและมักได้รับคำแนะนำ จากแพทย์ให้รับประทานอาหารเสริมในผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด

กรดไขมันในกลุ่มโอเมก้า 3

มีกรดที่สำคัญอยู่ 2 ชนิดคือ กรดไอโคซาเพนตาอีโนอิก และ กรดโดโคซาเฮ็กซาอีโนอิก เป็นกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกายเพราะร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ต้องได้รับจากอาหารเท่านั้น 

กรดไขมันกลุ่มโอเมก้า 3 ไม่ได้มาจากแหล่งอาหารทะเลเพียงอย่างเดียวในพืชบางชนิดที่มีกรดแอลฟาไลโนเลนิค เมื่อรับประทานเข้าไปร่างกายจะสามารถเปลี่ยนกรดชนิดนี้เป็นกรด EPA และ DHA ได้ แต่การสร้างนี เกิดขึ้นได้ช้าและจะเกิดขึ้นเมื่อร่างกายไม่ขาดเอนไซม์ในกระบวนการเมตาบริซึมนี้ พืชที่พบว่ามี EPA. และ DHA คือน้ำมันลินซีด น้ำมันคาโนล่า น้ำมันถั่วเหลือ น้ำมันข้าวโพ ผักโขม และผักใบเขียวเป็นต้น

กรดแอลฟาไลโนเลนิค

จะสามารถเปลี่ยนเป็น EPA ซึ่งมีฤทธิ์ในการลดระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือด พร้อมทั้งช่วยเพิ่มระดับ เอชดีแอล ในเลือดได้อีกด้วย นอกจากนี้ EPA จะถูกนำไปสร้างสารกึ่งฮอร์โมน พลอสตาไซคลิน 3 แบะทรอมบ็อกแซน3 ซึ่งจะทำให้เกล็ดเลือดไม่เกาะเป็นก้อน ลดการเกิดลิ่มเลือดและทำให้เลือดไม่และ ทำให้เลือดไม่แข็งตัวง่าย อีกทั้งทำให้เลือดขยายตัว กรดแอลฟาไลโนเลนิค ยังสามารถเปลี่ยนเป็นดีเอชเอ ซึ่งมีความสำคัญต่อการบำรุงเซลล์สมองและระบบประสาทจอตารับภาพ

โอเมก้า 6

ซึ่งมีกรดไลโนเลอิก สามารถลดระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือด รวมทั้งช่วยเพิ่มระดับ เอชดีแอลในเลือดด้วยเช่นกัน กรดไลโนเลอิก จะถูกสร้างเป็น พลอสตาไซคลิน 2 แบะทรอมบ็อกแซน2 ซึ่งมีฤทธิ์ทำให้เกร็ดเลือดจับตัวกันและมีผลทำให้หลอดเลือดหดตัวดังนั้นจึงไม่แนะนำให้รับประทานโอเมก้า 6 มากเกินไป ปริมาณความต้องการต่อวันเราควรได้รับกรดไขมันโอเมก้า 300 ถึง 500 มิลลิกรัม  ส่วนกรณีในผู้หญิงตั้งครรภ์ต้องการวันละ 1200 ถึง 1400 มิลลิกรัม

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับน้ำมันปลา

น้ำมันปลา กับ น้ำมันตับปลา

เหมือนกันหรือไม่ น้ำมันปลาไม่ใช่น้ำมันตับปลา เพราะน้ำมันปลาเป็นน้ำมันที่สกัดจากเนื้อปลาและหนังปลา แต่น้ำมันตับปลา เป็นน้ำมันที่สกัดมาจากตับของปลา ดังนั้นในน้ำมันตับปลา จึงเป็นน้ำมันที่มีวิตามิน เอ และวิตามิน ดี ส่วนในน้ำมันปลาเป็นน้ำมันที่มีกรดไขมันโอเมก้า

จะรู้ได้อย่างไรว่าน้ำมันปลาที่จะรับประทานเสริมนั้นมีคุณภาพที่ดี

น้ำมันปลาที่มีคุณภาพที่ดีนั้น นอกจากกระบวนการสกัดที่ได้รับการควบคุมการผลิตที่สะอาดปลอดภัยแล้ว สิ่งสำคัญคือ สัดส่วนของอีพีเอต่อดีเอชเอ ที่เหมาะสมควรอยู่ที่ 1.5 ต่อ 1

คนที่แพ้อาหารทะเลจะสามารถรับประทานน้ำมันปลาได้หรือไม่

การแพ้อาหารทะเล เกิดจากการแพ้อาหารประเภทโปรตีน ดังนั้น คนที่แพ้อาหารทะเลหรือแพ้ปลาทะเลจึงเกิดจากโปรตีน หรืออนุพันธ์ของโปรตีนในปลา แต่น้ำมันปลาจัดเป็นสารอาหารประเภทไขมัน ไม่ใช่โปรตีน ดังนั้น คนที่แพ้ปลาทะเลก็ยังสามารถรับประทานน้ำมันปลาที่สกัดจากปลาทะเลได้  

การรับประทานกรดไขมันโอเมก้ามากเกินไปจะมีผลอย่างไรบ้าง

กรดไขมันโอเมก้า อาจทำให้เลือดแข็งตัวได้ช้า และหยุดไหลได้ยาก ดังนั้นผู้ที่จะเข้ารับการผ่าตัดหรือหญิงใกล้คลอด ควรงดการรับประทานน้ำมันปลาก่อนคลอดประมาณ 1 เดือน

ใครบ้างที่ไม่ควรรับประทานน้ำมันปลา

มีรายงานเกี่ยวกับการรับประทานน้ำมันปลาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน ซึ่งพบว่าจะทำให้การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ค่อยดี ดังนั้น จึงไม่ควรแนะนำให้ผู้ป่วยเบาหวานชนิดนี้รับประทานน้ำมันปลา จนกว่าจะสามารถมีการควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีแล้วเท่านั้น

เด็กอายุเท่าไหร่จึงสามารถรับประทานน้ำมันปลาได้

ดีเอชเอในกรดไขมันโอเมก้า มีรายงานถึงการส่งเสริมการพัฒนาของสมองและประสาทตาในเด็ก โดยเฉพาะในเด็กทารกก่อนครบกำหนดคลอด 3 เดือนอย่างไรก็ตาม ในเด็กเล็กๆ ก็ควรแนะนำให้รับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ส่วนในเด็กที่มีอายุ 6 ขวบขึ้นไปที่ต้องการเสริมปริมาณ ดีเอชเอ  ก็สามารถรับประทานเสริมได้ 

ขอแนะนำ ผลิตภัณฑ์ CHL ที่สุดการคัดสรร 3 สารอาหารจากธรรมชาติ สู่การเสริมประสิทธิภาพที่ครบถ้วน การดูแลหลอดเลือด หมดห่วงภาวะไขมันสูง บรรจุใน Millicaps แคปซูลแข็ง นวัตกรรมใหม่จากประเทศฝรั่งเศส

Sukinanda
Sukinanda

อยากจะเป็นแม่ค้าออนไลน์กับเขาบ้าง ไม่ต้องอุดหนุน กดไลค์ กดแชร์ให้ก็พอค่ะ หากสนใจสินค้าทักแชทในไลน์มีส่วนลดพิเศษให้นะ

Articles: 128

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *