นาฬิกาชีวิตและสุขภาพของคุณ

มาตั้งนาฬิกาชีวิตหรือจังหวะรอบวัน (Circadian Rhythm) ของคุณใหม่กับเวลาตื่นและนอนที่เหมาะสม เพื่อให้คุณหลับได้เต็มอิ่มขึ้นและมีสุขภาพโดยรวมที่ดีเป็นรางวัล

มาตั้งนาฬิกาชีวิตหรือจังหวะรอบวัน (Circadian Rhythm) ของคุณใหม่กับเวลาตื่นและนอนที่เหมาะสม เพื่อให้คุณหลับได้เต็มอิ่มขึ้นและมีสุขภาพโดยรวมที่ดีเป็นรางวัล

นาฬิกาชีวิตหรือจังหวะรอบวันคืออะไร?

เวลาที่คุณรู้สึกเหมือนตาจะปิดให้ได้ทุกเย็น แต่พอเหนื่อยแทบตายแล้วล้มตัวลงนอน กลับนอนไม่หลับ นี่แหละคือผลลัพธ์ของนาฬิกาชีวิตที่แปรปรวน ร่างกายคนเราต่างมีตารางเวลาในการทำงานอยู่ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งคอยควบคุมวงจรการนอนและตื่นของเราในทุกๆ วัน นาฬิกาตัวนี้ส่งผลต่อทุกอย่างในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นการหลั่งฮอร์โมนและพฤติกรรมการกิน ไปจนถึงอุณหภูมิร่างกายและกระบวนการเผาผลาญ ถ้าคุณนอนยังไงก็ไม่หลับทั้งๆ ที่รู้สึกเหนื่อยมาก รู้ไว้เลยว่ามีบางอย่างกำลังขัดขวางจังหวะนาฬิกาชีวิตของคุณที่ทำให้ฮอร์โมนแห่งการนอนหลับอย่างเมลาโตนินไม่สามารถหลั่งออกมาได้เหมือนปกติ

อะไรที่ทำให้นาฬิกาชีวิตแปรปรวน? 

คุณจะต้องเลิกพฤติกรรมจ้องโทรศัพท์นานๆ ทุกคืนหรือหลับปุ๋ยหน้าจอทีวี วงจรการทำงานของร่างกายคนเราถูกออกแบบให้เป็นไปตามแสงอาทิตย์ในแต่ละวัน ในสมัยก่อนที่เรายังไม่มีไฟฟ้าใช้ เราจะเข้านอนเมื่อพระอาทิตย์ตกดิน และตื่นทันทีเมื่อพระอาทิตย์ขึ้น ดังนั้น แสงไฟและแสงจากหน้าจอที่ดึงรั้งคุณไว้จนดึกดื่น คือสิ่งที่ท้าทายร่างกายของคุณในการรับรู้ว่าช่วงเวลาใดควรหยุดพัก ช่วงเวลาค่ำคืนและความมืดที่หายไป ทำให้ร่างกายสับสนและประสบกับปัญหาในการหลั่งฮอร์โมนเมลาโตนิน

ร่างกายเราจะได้รับผลกระทบอย่างไร? 

การได้รับแสงสังเคราะห์ในตอนกลางคืนและการตื่นนอนที่ไม่เป็นเวลามีความเชื่อมโยงกับโรคเรื้อรังอย่างโรคอ้วนและโรคเกี่ยวกับหัวใจ เช่นเดียวกับความรู้สึกกระวนกระวาย ความวิตกกังวล การลดลงของประสิทธิภาพความจำและการเรียนรู้ ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีการค้นพบว่าประชากรในประเทศที่ได้รับแสงอาทิตย์เพียงน้อยนิดในช่วงฤดูหนาวจะมีแนวโน้มเป็นโรคเครียดและซึมเศร้าได้มากกว่า อย่างไรก็ตาม  อาการเหล่านี้สามารถหลีกเลี่ยงได้เพราะยังมีปัจจัยของไลฟ์สไตล์เข้ามาเกี่ยวข้อง

เราควรทำอย่างไร?

  • มาปรับไลฟ์สไตล์ให้ตรงกับนาฬิกาชีวิตมากขึ้น โดยการเข้านอนให้เป็นเวลาทุกคืน เพื่อสร้างกิจวัตรให้ร่างกายจดจำและรับรู้ได้ว่าเวลาไหนคือเวลานอน (จำไว้เสมอว่าร่างกายชอบอะไรที่เป็นระบบ) 
  • หยุดพักจากการใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีสัก 2 – 3 ชั่วโมงก่อนเข้านอน โดยเฉพาะในตอนกลางคืน หากจำเป็นจริงๆ คุณสามารถติดตั้งฟิลเตอร์กรองแสงสีน้ำเงินที่หน้าจอหรืออาจหาซื้อแว่นกรองแสงสีน้ำเงินมาใส่ เพราะแสงสีน้ำเงินคือตัวขัดขวางการหลั่งฮอร์โมนเมลาโตนินที่สำคัญ
  • หาเวลาออกไปข้างนอกในตอนกลางวันบ้าง เพือให้ร่างกายได้รับรู้และเชื่อมโยงการทำงานกับแสงอาทิตย์ 
  • ข้อสุดท้ายที่อาจจะเป็นเรื่องยากสำหรับเราหลายๆ คน แต่ให้ผลลัพธ์ค่อนข้างน่าประทับใจ คือการหาเวลาไปดูพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก เพราะไม่เพียงแค่คุณจะได้ดื่มด่ำกับโมเมนต์สวยๆ และรู้สึกผ่อนคลายสบายใจแล้ว การทำแบบนี้สามารถช่วยรีเซ็ตนาฬิกาชีวิตของคุณอย่างได้ผล
Sukinanda
Sukinanda

อยากจะเป็นแม่ค้าออนไลน์กับเขาบ้าง ไม่ต้องอุดหนุน กดไลค์ กดแชร์ให้ก็พอค่ะ หากสนใจสินค้าทักแชทในไลน์มีส่วนลดพิเศษให้นะ

Articles: 128

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *